ของดีจังหวัดชุมพร
ด้วยฝีมือของคนท้องถิ่นได้งานหัตถกรรมที่สวยงามและกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้อีกทั้งยังมีผลงานอีกมากมายที่เป็นผลงานของเรา
เกร็ดความรู้เรื่องผ้าบาติก
ผ้าบาติก เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำลวดลายผ้าโดยการใช้เทียนปิด ส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด และระบายสีในส่วนที่ต้องการให้สีติด "บาติก" หรือ "ปาเต๊ะ" เป็นคำในภาษาชวามาจากคำว่า "ติติ๊ก"หรือ "ติก"มีความหมายว่า เล็กน้อยหรือจุดเล็กๆ โดยใช้การหลอมเหลวของแว๊ก (WAX) หยดหรือเขียนที่เรียกว่า "การเขียนน้ำเทียน" เป็นกรรมวิธีที่จะระบายเทียนที่หลอมเหลวให้เข้าไปในเนื้อผ้า จากนั้นนำไปย้อมตามขบวนการการทำสีผ้าบาติก คือ ย้อมในส่วนที่ไม่ปิดแว๊กให้ติดสีย้อมคือแต้มหรือระบายลงไปในส่วนที่ต้องการ ให้สีติด เมื่อเสร็จกรรมวิธีแล้วจึงลอกเทียนออกด้วยการนำไปต้มในน้ำเดือด ดังนั้น "บาติก" จึงเป็นการตกแต่งผ้าวิธีหนึ่งที่ทำกันมากในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมถึงประเทศไท ยซึ่งมีการนำเสนอลวดลายผ้าที่ออกมาจากความคิดจินตนาการของผู้ทำรวมทั้ง เทคนิคในการทำที่แตกต่างกันของกลุ่มชนในแต่ละประเทศที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึง อารยธรรม และวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสถานที่นั้น ๆ บาติกเป็นงานฝีมือที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้วส่วนแหล่งกำเนิดมาจากไหนยังไม่เป็นข้อยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย และอีกหลายคนเชื่อว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย มีการค้นพบผ้าบาติกที่อียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังยืนแน่ชัดว่า ศัพท์เฉพาะ ขั้นตอน สี รวมทั้ง ขี้ผึ้งที่ใช้เขียนลาย เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในประเทศอินเดียมาก่อน ถึงจะมีการค้นพบผ้าบาติกในที่ต่างกันแต่ผ้าบาติกของอินโดนีเซียน่าจะเกิดจาก ประเทศอินโดนีเซียเอง เพราะซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนของชาติอื่น ๆ และยังมีผู้ยืนยันระบุอีกว่า การทำผ้าโสร่งบาติกมีต้นกำเนิดมาจากอินโดนีเซียแน่นอน (นันทา, 2536)
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของผ้าบาติกจึงสามารถสรุปได้ว่า ผ้าบาติกมีแหล่งกำเนิดที่ระบุไม่แน่ชัดแต่พบมากในประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มมาจากการทำผ้าบาติกของสตรีในวัง แล้วแพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป จากนั้นได้มีการพัฒนาเทคนิคการสืบต่อกันมาจนกระทั่งได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากในปัจจุบัน ถ้าเป็นบาติกที่เขียนด้วยมือถือว่าเป็นบาติกชั้นสูง มีราคาแพง จึงทำให้เกิดการเลียนแบบผ้าบาติกด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถทำให้เกิดเทคนิคในการทำลวดลายให้ดูคล้ายกับผ้าบาติก แต่จริง ๆ แล้วเป็นการพิมพ์แบบสกรีนและไม่เป็นที่นิยมเท่ากับผ้าบาติก ส่วนการทำผ้าบาติกของไทยนั้น นิยมทำกันเป็นงานฝีมือ หรือที่เรียกว่า บาติกเพ้นท์ที่เขียนด้วยมือ ซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกับศิลปะบาติกของชาติอื่น
วัสดุและอุปกรณ์ |
- อุปกรณ์ในการเขียนเทียน เรียกว่า "ชันติ้ง" (Tjanting)
- ขี้ผึ้ง เทียนไข ผสมในอัตราส่วนที่ต้องการ เช่น อัตาส่วนขี้ผึ้งต่อพาราฟิน 1:2 ต้องการให้เทียนมีความเหนียว , 1:8 ต้องการให้เทียนเกิดรอยแตก (Crack) ง่าย เป็นต้น
- ผ้าที่ใช้ เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าไหม เป็นต้น
- กรอบไม้สำหรับขึงผ้า
- ภาชนะใส่น้ำเทียน
- เตาไฟฟ้า
- กรรไกรตัดผ้า
- แก้วผสมสี และภาชนะใส่น้ำสี
- น้ำร้อน-น้ำเย็น ใช้สำกรับผสมสี
- เตารีด
- ภู่กัน ใช้เบอร์ 6, 8, 12 ปลายเหลม หรือปลายตัดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้
- สีที่ใช้แต้ม หรือ ย้อม เช่น สีรีแอคทีฟ สีวัต เป็นต้น
- สารเคมีที่ใช้ในการย้อม เช่น โซดาแอส โซเดียมคาร์บอเนต เป็นต้น
- โซเดียมซิลิเกต ใช้สำหรับให้สีผนึกกับผ้าได้ดี
- อ่างสำหรับไว้ต้มเทียนออกจากผ้า
นอกจากนั้นยังได้รับรางวัล มากมายจากหลายๆที่ ซึ่งเป็นสิ่งการันตีถึงความสวยงามและคุณภาพที่สร้างสรรค์ความงามบนผืนผ้าบาติกที่อยู่คู่ชาวภาคใต้มานานโดยเฉพาะกลุ่ม อสม.บาติกผาแดง หาดทรายรี จังหวัดชุมพร
1. ผลงานผ้าบาติกตัดเย็บเป็นผ้าัพันคอ
2. เสื้อผ้าบาติก
3. เสื้อบาติกคุณผู้ชาย
4. เสื้อและชุด ตัดเย็บจากผ้าบาติก คุณผู้หญิง
สถานที่ติดต่อ